ประวัติที่ปรึกษา
ผศ.ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ
คุณ อำนาจ พัฒน์ทอง
คุณ สมชิต เรืองรักเรียน
คุณ วิศัลย์ ณ ระนอง
คุณ ประภาส พัฒนอมร
คุณ ปิยะพงษ์ อัศวศุภฤกษ์
คุณ วิระ อาชีวปริสุทธิ
คุณ ฐิติกร รักไทย (Webmaster)
คุณ ชิโนทัย พรหมหิตาทร
คุณ ธำรงค์ รักษาบุญ (Designer)

ขอเชิญฟังเสียง ดร.อภิชาติ ในการให้สัมภาษณ์ รายการ SMEs TODAY FM 101MHz วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 เวลา 12.15-12.30 น. ที่นี่ครับ (wav file)

------------------------------

สัมภาษณ์ ผศ.ดร.อภิชาติ เรื่อง โครงการ ITAP สวทช. และเรื่อง การพัฒนาการย้อมในชนบท แนวทาง และอนาคต ที่นี่ครับ

-------------------------
หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ
เล่มนี้เหมาะ สำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ช่างเทคนิค และผู้ที่สนใจ 240 บาทเท่านั้น พิเศษสำหรับนักเรียน-นักศึกษา ลดเหลือ 200 บาทต่อเล่ม (หมายเหตุ กรุณาถ่ายบัตรประจำตัวนักเรียน หรือนักศึกษามาแนบด้วย) สำหรับบุคคลธรรมดา ราคา 240 บาท สนใจติดต่อ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ โทรสาร 0 2549 3665

----------------------------------

ท่านสามารถดูตารางธาตุได้ที่นี่ โดยท่านสามารถ ทราบค่าต่างๆได้ อาทิ เป็นธาตุตัวที่เท่าไร ค่าโมเลกุล ความทนต่ออุณหภูมิ ฯลฯ

 

คาร์เปท เมกเกอร์ฯ เร่ง ‘ สปีดธุรกิจ ยกระดับพรมทอมือไทย สู่ตลาดสากล

โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย ( ITAP)

สวทช. ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ส่งผู้เชี่ยวชาญเสริมทัพ คาร์เปท เมกเกอร์ พัฒนาห้องแล็บและโรงย้อม หวังขยายฐานลูกค้าระดับบน มุ่งเจาะกลุ่มโรงแรม - โครงการอสังหาฯขนาดใหญ่ งัดกลยุทธ์เด็ดมัดใจลูกค้า ด้วยดีไซน์ และ คุณภาพ ส่งมอบทันใจตรงเวลา พร้อมรับทำ ‘ เฉดสีพิเศษ ' เฉพาะสูตรของลูกค้า ฉีกแนวตลาดจากจีน ตั้งเป้าก้าวขึ้นเป็น ‘ ยักษ์ใหญ่ ' ในอุตสาหกรรมผู้ผลิตพรมทอมือระดับสากล

..............................................................................................................................................................................

อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่มีมาช้านาน และได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ จากการผลิตเพื่อป้อนสินค้าจำหน่ายภายในประเทศ ก้าวหน้าเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกเทคโนโลยีความทันสมัย ตลอดจนเครื่องจักรต่างๆ ถูกปรับปรุงให้สอดรับกับวิวัฒนาการเหล่านี้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตัวสินค้า และกระบวนการผลิตให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้

อุตสาหกรรมการผลิตพรมทอมือ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในด้านการผลิตและส่งออก เนื่องจากเรามีศักยภาพเพียบพร้อม รวมทั้งฝีมืออันละเอียดประณีตงดงาม เป็นผลให้ผู้ประกอบการต่างพยายามขวนขวาย เสาะ หาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเสริมในการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ตลอดจนคุณภาพของชิ้นงานให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

นายสุนทร ไกรตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด http://www.carpetmaker.co.th/ ผู้ผลิตและส่งออกพรมทอมือ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 เป็นบริษัทในเครือ บริษัท อินเตอร์ ไกร จำกัด ผลิตพรมส่งออก ต่อมามีการปรับเปลี่ยนระบบงานใหม่จึงได้แยกตัวออกมาผลิตพรมทอมือ เน้นการส่งออกต่างประเทศเป็นหลัก โดยตั้งเป้าหมายจะพยายามพัฒนาพรมทอมือให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก รวมทั้งพิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของบริษัทไทยว่า สามารถขึ้นมาเป็นผู้นำในวงการอุตสาหกรรมพรมทอมือได้เช่นกัน ด้วยกำลังการผลิตที่วางไว้ถึง 36,000 ตารางเมตรต่อปี

"เราตั้งใจทำโรงงานที่มีคุณภาพในการผลิตพรมทอมือเพื่อการส่งออก และต้องการปรับกระบวนการผลิตที่จะสามารถตอบสนองการสั่งทำ หรือเรียกว่า made to order ซึ่งเราเล็งเห็นว่าตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง และยังคงเป็นตลาดที่มีความสลับซับซ้อน ขณะที่เรามีศักยภาพในการทำตลาดเฉพาะนี้ได้สูงกว่าประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะในด้านของบุคลากร การบริหารจัดการ และตัวสินค้า ไม่เพียงเท่านี้บริษัทฯ ยังได้ริเริ่มสร้างคอนเซ็ปต์ใหม่ของการผลิตที่มีจำนวนน้อยแต่คุณภาพสูง และตอบสนองเร็ว"

นายสุนทร กล่าวต่อว่า ในฐานะที่ต้องเป็นคนกลางระหว่างความต้องการของลูกค้าที่มีออร์เดอร์น้อย กับโรงงานย้อมที่ต้องการผลิตเฉพาะที่มีปริมาณมากๆ เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องสร้างขีดความสามารถของตนเองขึ้นมาด้วยการศึกษา ว่าทำอย่างไรที่จะปรับปรุงโรงย้อมขนาดเล็กที่มีอยู่ในโรงงาน ให้สามารถตอบสนองตลาดพิเศษเฉพาะนี้ได้ดีขึ้น จึงต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยีเชิงลึกเข้ามาใช้ แต่ติดปัญหาในเรื่องของบุคลากรที่ยังไม่มีความเข้าใจด้านการย้อมที่ดีพอ จึงดำเนินการขอความช่วยเหลือจาก โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย ( ITAP ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญ คือ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในเรื่องของการพัฒนาประสิทธิภาพการย้อม รวมถึงการวางระบบการสร้างโรงย้อมขนาดเล็กขึ้นใหม่ พร้อมห้องแล็บสำหรับทดสอบสี (เทสต์สี) ตั้งแต่เฉดสี ( tone ) พื้นฐานไปจนถึงเฉดสีพิเศษที่ได้มาตรฐาน และลดปัญหาของเสียเหลือน้อยที่สุด

โดยการสร้างโรงย้อมขึ้นใหม่นี้ จะเป็นรองรับการขยายตัวของลูกค้ากลุ่มเฉพาะที่ต้องการงานรวดเร็ว อาทิ กลุ่มโรงแรม กลุ่มอสังหาฯ และ กลุ่มผู้รับเหมาโครงการขนาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายของบริษัท เพราะการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน มีการแข่งขันกันสูง ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ต้องการชิงความเป็นผู้นำของธุรกิจด้านนี้ จึงหันมาเน้นความรวดเร็วเรื่องของเวลาการส่งมอบสินค้า ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามาเป็นจุดขาย โดยเฉพาะเรื่องของสีพิเศษเฉพาะที่ลูกค้าต้องการ อันเป็นหัวใจหลักของบริษัทฯ ทั้งนี้ นอกจากจะทดสอบสีที่จะนำไปผลิตเป็นตัวอย่างให้ลูกค้าแล้ว ยังรวมถึงการผลิตสำหรับออร์เดอร์สินค้าที่มีจำนวนไม่มากนักด้วย

สำหรับเครื่องย้อมสี หรือ หม้อย้อม ที่พัฒนา ร่วมกับโครงการ ITAP ประกอบด้วย เครื่องขนาด 15 กิโลกรัม ต่อการย้อม 1 ครั้ง จำนวน 1 เครื่อง และเครื่องย้อมขนาดเล็ก 1 กิโลกรัม ต่อการย้อม 1 ครั้ง ซึ่งเครื่องที่พัฒนาขึ้นนี้ ได้มีการปรับปรุงระบบการทำงานภายใน โดยได้ปรับปรุงตัวแปรที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการย้อมสี อาทิ ระบบควบคุมอุณหภูมิ เวลา และการไหลเวียนของน้ำภายในเครื่อง ทำให้สามารถทราบถึงช่วงการกินสี หรือ จุดอิ่มตัวของสี ที่จะเข้าถึงจุดความเป็นธรรมชาติของเส้นใยได้มากที่สุด เนื่องจากคุณสมบัติของวัตถุดิบ อาทิ เส้นใยไหม หรือ ขนสัตว์ ที่นำมาย้อมนั้นมีความแตกต่างกัน รวมถึงการเข้ากันของสี และ การดูดกลืนสี ซึ่งถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการย้อมสี ที่ต้องรักษาเรื่องของอุณหภูมิ และอัตราการขึ้นของอุณหภูมิ ให้เป็นไปตามคุณสมบัติของวัตถุดิบแต่ละชนิด ที่สำคัญยังช่วยลดระยะเวลาและประหยัดพลังงานในการย้อมสีลง จากเดิมที่ต้องใช้เวลานานถึง 1 วัน / 1 เฉดสี เหลือเพียง 1.30 ชม. / 1 เฉดสี และสามารถย้อมสีได้มากขึ้นถึงวันละ 4 - 5 เฉดสี ซึ่งผลที่ได้หลังจากทำการปรับปรุงระบบการย้อมสีแล้ว ทำให้เส้นใยในหม้อย้อมกินสีได้ถึงเกือบ 80 % เหลือของเสียตกค้างเพียง 20 % โดยของเสียดังกล่าวจะถูกกำจัดโดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบโรงงาน นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบภายในประเทศ ไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

นายสุนทร กล่าวว่า “ ปัจจุบัน พนักงานของบริษัทฯ มีความเข้าใจในบทบาทของตนเองมากขึ้น และเห็นว่าตนเองมีความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งในระบบคุณภาพ ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร และยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้บริษัทฯ ก้าวไปสู่ผลสำเร็จในการเข้าไปทำตลาดระดับบนได้ เมื่อเปรียบเทียบก่อนหน้านี้จะเป็นลักษณะต่างคนต่างทำตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น โดยไม่รู้ถึงที่มาและผลกระทบว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ผู้ประกอบการมักจะมองข้ามการฝึกอบรมให้แก่พนักงาน คิดเพียงว่าเมื่อมีงานเข้ามา จะทำอย่างไรให้งานนั้นผลิตออกไปได้ แต่หลังจากได้รับคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญแล้วที่เข้าช่วยปูพื้นฐาน ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการและทีมงานได้เห็นถึงความสำคัญในการย้อมสีที่ถูกต้องตามหลักวิชากากร และเห็นความสำคัญของสิ่งที่ทำแล้ว ก็จะทำให้เกิดความตั้งใจและเห็นคุณค่าในงานมากยิ่งขึ้น ยอมรับว่า ได้ผลที่ดีมาก ”

เนื่องจากปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์พรมทอมือมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ดังนั้นนอกจากจะเน้นในเรื่องของคุณภาพ ลูกเล่น และดีไซน์แล้ว เรื่องของเวลาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการส่งมอบสินค้า ซึ่งหากบริษัท

คาร์เปท เมกเกอร์ จำกัด ต้องการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดพรมทอมือแล้วจำเป็นที่จะต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถด้วยการพัฒนาคุณภาพทั้งบุคลากร เทคโนโลยี วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และเวลา มิฉะนั้นอาจส่งผลให้ตลาดตกไปอยู่ในมือคู่แข่งอย่างประเทศจีน และอินเดีย ที่เน้นผลิตสินค้าปริมาณมาก ราคาถูก ขณะที่บริษัทฯ มุ่งกลุ่มลูกค้าระดับบน ที่เน้นด้านการดีไซน์และความรวดเร็วเป็นปัจจัยหลัก นอกจากนี้ ในเรื่องของสี บริษัทฯ ยังได้พัฒนาเฉดสี ( tone) ขึ้นมากมาย ปัจจุบันมีมากกว่าหมื่นเฉดสี ( tone) ซึ่งล้วนเป็นสีที่ลูกค้ากำหนดขึ้นทั้งสิ้น

ด้าน นางสาววรรณรพี สายน้ำเขียว ที่ปรึกษาเทคโนโลยีโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) กล่าวว่า ปัญหาจากการที่ บริษัทต้องรอให้โรงย้อมสีขนาดใหญ่ดำเนินการย้อมสีไหมตัวอย่างให้ เพราะเป็นงานย้อมสีปริมาณน้อย อีกทั้งความไม่พร้อมของห้องแล็บ เครื่องมือ อุปกรณ์ ของบริษัทฯ ที่ ยังไม่ได้มาตรฐาน ความรู้ส่วนใหญ่จะเป็นการสอนกันแบบปากต่อปาก ขาดการอ้างอิงทาง ทฤษฎีและหลักวิชาการ ทำให้ เกิดปัญหาสี ที่ย้อมออกมาไม่สม่ำเสมอ และต้องย้อมซ้ำ แต่หลังจากที่ได้แนะนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไป ดำเนินโครงการ เพิ่มความรู้ ทักษะ เทคนิค โดยการแก้ปัญหาจากรากฐานก่อน ซึ่งเรื่องของการย้อมสี ถือเป็นปัญหาสำคัญลำดับต้นๆ ก่อนจะนำไปสู่จุดอื่นๆ ซึ่งผลการดำเนินโครงการพบว่า บริษัทฯ ค่อนข้างพอใจกับการแก้ปัญหาดังกล่าว จนล่าสุด บริษัทฯ เตรียมพัฒนาเครื่องทอพรมเป็นโครงการต่อไป

นางสาววรรณรพี กล่าวฝากถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอว่า เท่าที่ได้เข้าไปสัมผัสคลุกคลีกับอุตสาหกรรมสิ่งทอมาระดับหนึ่ง พบว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอถือเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับต้นน้ำ และกลางน้ำ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ประสบเป็นเรื่องของงานย้อม เนื่องจากประเทศไทยเรายังขาดบุคลากร ที่มีความรู้ ทักษะ วิชาการ และประสบการณ์การแก้ไขปัญหาในการทำงานในภาคอุตสาหกรรม จึงอยากแนะนำให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสนใจในการ พัฒนาและ ให้ความรู้แก่บุคลากร รวมถึงการปรับ ใช้เทคโนโลยีที่เหมะสม โดยเฉพาะเรื่องของการบำบัดของเสียและน้ำเสียที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยควรนำ กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีที่สะอาดเข้ามาใช้แก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม .

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้ารับการสนับสนุนในโครงการ ITAP สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2564-8000 หรือ http://www.nstda.or.th/itap

*********************

(สื่อมวลชนที่สนใจข้อมูล-ภาพ เพิ่มเติม ติดต่อได้ที่คุณนก , คุณเกศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการ ITAP โทร.0-2619-6187,8)

 


 

วีดีโอซีดี เรื่อง "นาโนเทคโนโลยีสำหรับงานสิ่งทอ" เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง "การทำความสะอาดสิ่งทอ" การจัดทำกิจกรรม 5ส และการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001:2000

ผลงาน ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง แก๊สซิไฟเออร์ คลิ๊กดู VDO ที่นี่ครับ (พลังงานทดแทนน้ำมัน!!!)

ท่านผู้อ่านสามารถโหวตแสดงความพึงพอใจ กับเว็บไซต์ของเราได้ที่นี่ครับ ขอบคุณครับ

Please vote for our website here

 

  หนังสือรวมสุดยอดเว็บไซต์สิ่งทอทั่วโลก Hot Textile Websites เล่มใหม่ เหมาะสำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นักศึกษา ผู้สนใจด้านสิ่งทอ ราคา 150 บาท สนใจติดต่อ...คุณสว่างจิตต์ หรือคุณกนกวรรณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492-9

โครงการความร่วมมือในอนาคต

เร็วๆ นี้จะมีข่าวดีสำหรับโครงการความร่วมมือครับ ระหว่างมหาวิทยาลัย Leeds ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ โครงการ ITAP สวทช. ประเทศไทย อดใจรอสักนิดครับ

 

ดูรายชื่อหนังสือทั้งหมด (30 เล่ม) ที่นี่ครับ

ประมวล ภาพที่ 1 าพที่ 2

การสัมมนา เรื่อง สุดยอดการจัดการสิ่งทอ : เทคโนโลยีสะอาด ทำกำไรได้จริงหรือ? ในวันที่ 26-27 พ.ค. 2548 ถ้าท่านต้องการหนังสือประกอบการสัมมนา สามารถติดต่อได้ที่ อ.อภิชาติ ครับ

--------------------------------

Interview with Dr. Apichart

บทสัมภาษณ์ ดร.อภิชาติ

คลิ๊กที่นี่ครับ

--------------------------------

Blog ที่นี่ครับ หากท่านต้องการจะโพสต์ข้อมูลที่นี่

ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ

บทสัมภาษณ์รายการ "ความรู้สู่ชุมชน" วิทยุเพื่อการศึกษา FM 92 MHz วันที่ 30 มิ.ย. 2548 เวลา 13.30-14.30 น.คลิ๊กที่นี่ (22 Minutes)

เครื่องย้อมพลังงานแสงอาทิตย์ (งานวิจัย) จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 11 สิงหาคม 2548 และจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 26 สิงหาคม 2548 คลิ๊กที่นี่ ชมวีดีโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

เครื่องผลิตโฟม สำหรับการย้อมที่ใช้น้ำกว่าปกติ (งานวิจัย) ชมวีดิโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

บทสัมภาษณ์คุณสุนทร ไกรตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ที่ได้รับคำปรึกษาจาก ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ภายใต้โครงการ ITAP สวทช. คลิ๊กที่นี่

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ การบรรยายเรื่อง "นาโนเทคโนโลยีกับงานสิ่งทอ" Nanotechnology in Textiles V.4.00 ฟรี!

คลิ๊กที่นี่ครับ

----------------------------------

สนใจอยากให้คณะที่ปรึกษา ttcexpert.com เข้าช่วยเหลือธุรกิจ ของท่าน ttcexpert.com สามารถติดต่อได้ที่นี่ โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 ครับหรืออยากทำโครงการ... ติดต่อโครงการ ITAP สวทช. ที่ คุณวรรณรพี โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1379

 

เขียนติชมได้ที่นี่ครับ! Guest Book

สนใจติดต่อโฆษณาได้ที่

eng_pub@hotmail.com

ค่าสปอนเซอร์เหล่านี้จะนำมาปรับปรุงเว็บ ให้บริการได้ดีกว่านี้ครับ ขอบคุณครับ

จากใจ ผศ.ดร.อภิชาติ

Asking for your helps, please.

เนื่องจากเว็บไซต์นี้เปิดบริการฟรี ให้กับพวกท่านมาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ถ้าหากท่านต้องการ จะสนับสนุนผม ให้สามารถทำงาน เพื่อสังคม มากกว่านี้ เช่น ช่วยเหลือให้สามารถจัดการสอนออนไลน์ ซื้อหนังสือ ตำราจากต่างประเทศให้ หรือหาผู้ช่วย ในการทำอีเลิร์นนิ่งให้ดีกว่านี้ เป็นต้น เพื่อเราจะร่วมกันทำเว็บนี้ ให้เป็นแหล่งความรู้ ที่ดีแห่งหนึ่ง ให้กับนักศึกษา พนักงาน ครูอาจารย์ และผู้สนใจต่อไปครับ

ขอบพระคุณที่ช่วยสนับสนุนครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีสปอนเซอร์มาติดต่อเลยนะครับ ขอความช่วยเหลือจากท่านบ้าง ผมต้องเข้ามาตอบตลอด มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนะครับ อย่างน้อยช่วยซื้อหนังสือบ้างก็ยังดีครับ

ขอบพระคุณในความเห็นใจของทุกท่านครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

29-10-48

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอจัดให้ตามคำแนะนำของคุณบัณฑิต พงศาโรจนวิทย์ คลิ๊กที่นี่ครับ

-------------------------

Silk : Queen of Fibres - The Concise Story by Assist. Prof. Dr. Apichart Sonthisombat and Dr. Peter T. Speakman (PDF FILE)--> Click here!

---------------------

Technical Textile Useful Links --> Click here!

--------------------------

Nanotechnology Useful Links -->Click here!

--------------------------------------------------

คำนิยามเกี่ยวกับการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอ

คลิ๊กที่นี่ครับ

รายชื่อหนังสือใหม่ล่าสุด

- การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน เล่ม 2 ราคา 300 บาท (หนาประมาณ 300 กว่าหน้าครับ) **

- เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต เสร็จแล้วครับ ราคา 60 บาท (พิมพ์สี)**

สนใจติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ (**ค่าส่งลงทะเบียนอีกประมาณ 20 บาทต่อเล่มครับ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อยากให้เว็บนี้มีอะไรเพิ่มเติม...กรุณาส่งอีเมล์ หรือโทรมาบอกได้ครับ เราจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ให้ดีที่สุดครับ

WEBSTAT for ttcexpert.com

Last updated on 11-12-06

ติดต่อสอบถาม โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 หรือที่... e-mail: eng_pub@hotmail.com, en@rmut.ac.th

Assistant Professor Dr. Apichart Sonthisombat

Department of Textile Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT),

Rungsit-Nakornnayok Road, Klong 6. Thanyaburi, Pathumthani, 12110 THAILAND

 

หมายเหตุ ความคิดเห็นที่ปรากฎในเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของผู้เขียนมิได้เป็นความเห็นชอบของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แต่อย่างใด