ประวัติคณะที่ปรึกษา (RESUME)
ผศ.ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ
คุณ อำนาจ พัฒน์ทอง
คุณ สมชิต เรืองรักเรียน
คุณ วิศัลย์ ณ ระนอง
คุณ ประภาส พัฒนอมร
คุณ ปิยะพงษ์ อัศวศุภฤกษ์
คุณ วิระ อาชีวปริสุทธิ
คุณ ฐิติกร รักไทย (Webmaster)
คุณ ชิโนทัย พรหมหิตาทร
คุณ ธำรงค์ รักษาบุญ (Designer)
อาจารย์ กุลธวัช เจริญผล (Art Designer)
อาจารย์เอ คณะศิลปกรรม มทรธ. (Art Designer)

ขอเชิญฟังเสียง ดร.อภิชาติ ในการให้สัมภาษณ์ รายการ SMEs TODAY FM 101MHz วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2549 เวลา 12.15-12.30 น. ที่นี่ครับ (wav file)

------------------------------

สัมภาษณ์ ผศ.ดร.อภิชาติ เรื่อง โครงการ ITAP สวทช. และเรื่อง การพัฒนาการย้อมในชนบท แนวทาง และอนาคต ที่นี่ครับ

-------------------------
หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ
เล่มนี้เหมาะ สำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ช่างเทคนิค และผู้ที่สนใจ สนใจติดต่อ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ โทรสาร 0 2549 3665

----------------------------------

ท่านสามารถดูตารางธาตุได้ที่นี่ โดยท่านสามารถ ทราบค่าต่างๆได้ อาทิ เป็นธาตุตัวที่เท่าไร ค่าโมเลกุล ความทนต่ออุณหภูมิ ฯลฯ

 

Lesson (Page 2)

e-learning in Textile Chemistry

---------------------------------------

คำถามน่าสนใจเกี่ยวกับเส้นใย แต่เสียดายต้องตอบ ภายในไม่ถึง 5 ชั่วโมง

(Fax มาช่วงเกือบเที่ยง ต้องตอบภายใน 5 โมงเย็น) ดังนี้ครับ

http://www.ttcexpert.com/questions.pdf
--------------------------------

ตัวอย่าง Presentation Functional Textiles --> Click Here

ดาวน์โหลดไปแล้ว เห็นว่าเนื้อหาดี ก็ขอให้ช่วยกันซื้อ ตำราบ้างครับ (PLEASE)

----------------------------------

หนังสือเล่มใหม่ล่าสุด

การนำเอานาโนเทคโนโลยีมาใช้กับงานสิ่งทอ + เทคโนโลยีพลาสมา และเทคโนโลยีอื่นๆ

พิมพ์ภาพสี ราคาเล่มละ 250 บาท

สนใจติดต่อ ดร.อภิชาติ

--------------------------

1

ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ กับโครงการ iTAP สวทช.

บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด |

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 23 พ.ย. 2549

----------------------------------------------------------

KM | PAGE 1 | PAGE 2 | PAGE 3 | PAGE 4

กระบวนการเตรียมผ้าถือว่าเป็นหัวใจของกระบวนการย้อม พิมพ์ และตกแต่ง เนื่องจากว่าเส้นใย เส้นด้าย และผืนผ้า จะมีสิ่งเจือปน อยู่ในเป็นจำนวนมาก ทำให้เราจำเป็นต้องกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ออกไป เช่น ในเส้นใยฝ้ายจะมีสิ่งเจือปน เช่น เปกติน ขี้ผึ้ง แป้ง แป้งสังเคราะห์ สารหล่อลื่น เป็นต้น ซึ่งมีการเจือปนในธรรมชาติ และเจือปนในกระบวนการ ปั่นด้าย ทอผ้า เพื่อทำให้กระบวนการเหล่านั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำการขัดขวางการดูดซึมน้ำ ทำให้ผ้ากระด้าง สกปรก เพราะฝ้ายดิบมักมีสีเหลืองตามธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องฟอกสีธรรมชาติก่อนการย้อมสีอ่อนๆ เป็นต้น


ดังนั้นเราจำเป็นต้องระมัดระวังในการเตรียมผ้า และเส้นใย เพื่อมิให้เกิดการย้อม และพิมพ์อย่างไม่สม่ำเสมอ อีกทั้ง จำเป็นต้องทราบกระบวนการทั่วไปที่ผู้ที่ทำงานในโรงงานจำเป็นต้องรู้ เพื่อทดสอบวัสดุที่ผ่านกระบวนการเตรียม ว่าอยู่ในสภาพที่เหมาะสมหรือไม่ เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการย้อม และพิมพ์ต่อไป

สำหรับผ้าฝ้าย โดยปกติจะมีกระบวนการเตรียมดังต่อไปนี้
1. การเผาขน (Singeing)
2. การลอกแป้ง (Desizing) (ผ้าถักตามแนวนอนไม่จำเป็นต้องทำ)
3. การทำความสะอาด (Scouring)
4. การฟอกขาว (Bleaching)
5. การเติมสารฟอกนวล (ถ้าต้องการให้ผ้าขาวมากๆ) (Adding Optical Brightening Agent)
6. การเมอร์เซอร์ไรซ์ (Mercerizing)

การเซ็ตตัวด้วยความร้อน

คำนิยาม เป็นกระบวนการทำให้เส้นใย เส้นด้าย หรือผ้าเกิดการคงตัว โดยกระบวนการให้ความร้อนภายใต้สภาวะที่ควบคุม ดังนั้นเมื่อผ้าจะถูกเซตตัวด้วยความร้อนจะต้องมีแรงดึง ซึ่งจะทำให้ผ้าเกิดการยืดตัวตามแนวด้ายยืน และด้ายพุ่งได้ ผลที่ได้รับจะทำให้ผ้ามีความเรียบเมื่อใช้งาน การจับจีบ (Pleat) ก็สามารถเซตตัวด้วยความร้อนได้ เพื่อทำให้ผ้ามีจีบถาวร

การเผาขน
คำนิยาม เป็นกระบวนการผ่านเส้นด้าย หรือผ้า บนส่วนที่ถูกทำให้ร้อนด้วยเปลวไฟ หรือด้วยไฟฟ้า เพื่อกำจัดเส้นใยสั้นๆ (ขน) ที่โผล่ออกมานอกเส้นด้าย หรือผ้านั้น และทำให้วัสดุมีผิวเรียบ และดูน่าใช้ยิ่งขึ้

แป้งคืออะไร?

คำนิยาม แป้ง (Sizes) คือสารที่ทำให้เกิดฟิล์ม (เช่น แป้ง) บางครั้งจะประกอบด้วยสารหล่อลื่น เพื่อปกป้องเส้นด้ายยืนในระหว่างการทอผ้า

การลอกแป้ง

คำนิยาม เป็นกระบวนการกำจัดแป้งออกจากผ้าทอ (ส่วนใหญ่) และผ้าถัก (บางแบบ) ซึ่งแป้งจากการทอผ้านั้นมาจาก เส้นด้ายยืน เพราะต้องการให้เส้นด้ายยืนไม่ขาดง่ายในเวลาการทอผ้า และมีความแข็งแรงสูงทนการยกขึ้นลงของตะกรอ และถูกกระทบด้วยฟันหวีหลายๆ ครั้งได้

การทำความสะอาด

คำนิยาม เป็นกระบวนการที่กำจัดไขมัน น้ำมัน และแว๊กซ์ ที่มีอยู่ในธรรมชาติของเส้นใยหรือสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในธรรมชาติ (เช่น น้ำมันจากขนสัตว์) หรือเป็นสิ่งเจือปนที่เติมเข้าไปในกระบวนการผลิต (เช่น แป้ง) สำหรับเส้นใยฝ้าย และ แฟล๊กซ์ จะทำความสะอาดโดยการต้มด้วยสารละลายด่างโซดาไฟที่อุณหภูมิเดือด แต่เส้นใยอื่นๆ จำเป็นต้องใช้สภาวะที่ไม่รุนแรง เช่น ทำความสะอาดด้วยสารละลายด่างโซดาแอช หรือสารละลายที่เป็นกลางของสารซักฟอก

การฟอกขาว

คำนิยาม เป็นกระบวนการที่ใช้น้ำเป็นตัวกลางสำหรับการกำจัดสิ่งเจือปน สีธรรมชาติ และไขมัน หรือแว๊กซ์จากเส้นใย เส้นด้าย หรือผ้า กระบวนการนี้จะเพิ่มความขาว และช่วยทำให้สีสดใสขึ้น หลังจากการย้อม หรือพิมพ์ ซึ่งโดยปกติ สารฟอกขาวคือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไฮโปคลอไรท์ คลอรีน เป็นต้น

การเมอร์เซอร์ไรซ์

คำนิยาม คือ กระบวนการที่ใช้เพิ่มความมันเงาของเส้นด้าย หรือผ้าฝ้าย กระบวนการนี้จะต้องดึงวัสดุแล้ว จุ่มวัสดุลงใน สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาไฟ) ซึ่งจะทำให้เส้นใยฝ้ายเกิดการพองตัว และเพิ่มความแข็งแรง แล้วยังเพิ่ม คุณสมบัติการดูดซึมสีขึ้น กระบวนการนี้ค้นพบโดย จอห์น เมอร์เซอร์ (John Mercer) ในปี ค.ศ. 1844

การคอสติกไซซ์

คำนิยาม คือ กระบวนการคล้ายกับการทำเมอร์เซอร์ไรซ์ แต่จะปราศจากแรงดึง เพื่อทำให้เกิดการหดตัว

การเติมสารฟอกนวล

คำนิยาม คือ สีชนิดพิเศษซึ่งใช้ทำให้สิ่งทอ หรือกระดาษ มีสีขาวยิ่งขึ้น และสีตัวนี้อาจจะมีการเติมลงในสารซักฟอก ผลที่ได้รับคือการเห็นสิ่งทอ หรือกระดาษนั้นสีขาวยิ่งขึ้น เนื่องจากการที่สีตัวนี้เปลี่ยนแปลงแสงในช่วงอัลตราไวโอเลต ให้กลายเป็นแสงในช่วงสีน้ำเงินที่ตาคนเรามองเห็น ซึ่งทำให้ผ้านั้นมีการสะท้อนแสงอย่างสม่ำเสมอยิ่งขึ้น ในช่วงที่ตาคนเรามองเห็น

ที่มาจาก หนังสือกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

KM | PAGE 1 | PAGE 2 | PAGE 3 | PAGE 4

วีดีโอซีดี เรื่อง "นาโนเทคโนโลยีสำหรับงานสิ่งทอ" เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง "การทำความสะอาดสิ่งทอ" การจัดทำกิจกรรม 5ส และการจัดทำระบบคุณภาพ ISO 9001:2000

ผลงาน ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง แก๊สซิไฟเออร์ คลิ๊กดู VDO ที่นี่ครับ (พลังงานทดแทนน้ำมัน!!!)

ท่านผู้อ่านสามารถโหวตแสดงความพึงพอใจ กับเว็บไซต์ของเราได้ที่นี่ครับ ขอบคุณครับ

 

  หนังสือรวมสุดยอดเว็บไซต์สิ่งทอทั่วโลก Hot Textile Websites เล่มใหม่ เหมาะสำหรับ ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นักศึกษา ผู้สนใจด้านสิ่งทอ ราคา 150 บาท สนใจติดต่อ...คุณสว่างจิตต์ หรือคุณกนกวรรณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร. 0 2713 5492-9

โครงการความร่วมมือในอนาคต

เร็วๆ นี้จะมีข่าวดีสำหรับโครงการความร่วมมือครับ ระหว่างมหาวิทยาลัย Leeds ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ โครงการ ITAP สวทช. ประเทศไทย อดใจรอสักนิดครับ

 

ดูรายชื่อหนังสือทั้งหมด (30 เล่ม) ที่นี่ครับ

ประมวล ภาพที่ 1 าพที่ 2

การสัมมนา เรื่อง สุดยอดการจัดการสิ่งทอ : เทคโนโลยีสะอาด ทำกำไรได้จริงหรือ? ในวันที่ 26-27 พ.ค. 2548 ถ้าท่านต้องการหนังสือประกอบการสัมมนา สามารถติดต่อได้ที่ อ.อภิชาติ ครับ

--------------------------------

Interview with Dr. Apichart

บทสัมภาษณ์ ดร.อภิชาติ

คลิ๊กที่นี่ครับ

--------------------------------

Blog ที่นี่ครับ หากท่านต้องการจะโพสต์ข้อมูลที่นี่

ผลงานของ ผศ.ดร.อภิชาติ

บทสัมภาษณ์รายการ "ความรู้สู่ชุมชน" วิทยุเพื่อการศึกษา FM 92 MHz วันที่ 30 มิ.ย. 2548 เวลา 13.30-14.30 น.คลิ๊กที่นี่ (22 Minutes)

เครื่องย้อมพลังงานแสงอาทิตย์ (งานวิจัย) จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 11 สิงหาคม 2548 และจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 26 สิงหาคม 2548 คลิ๊กที่นี่ ชมวีดีโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

เครื่องผลิตโฟม สำหรับการย้อมที่ใช้น้ำกว่าปกติ (งานวิจัย) ชมวีดิโอคลิป จากรายการรู้รักษ์พลังงาน สถานีโทรทัศน์ไอทีวี วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2548 Movie Here

บทสัมภาษณ์คุณสุนทร ไกรตระกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ที่ได้รับคำปรึกษาจาก ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ภายใต้โครงการ ITAP สวทช. คลิ๊กที่นี่

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ การบรรยายเรื่อง "นาโนเทคโนโลยีกับงานสิ่งทอ" Nanotechnology in Textiles V.4.00 ฟรี!

คลิ๊กที่นี่ครับ

----------------------------------

สนใจอยากให้คณะที่ปรึกษา ttcexpert.com เข้าช่วยเหลือธุรกิจ ของท่าน ttcexpert.com สามารถติดต่อได้ที่นี่ โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 ครับหรืออยากทำโครงการ... ติดต่อโครงการ ITAP สวทช. ที่ คุณวรรณรพี โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1379

 

เขียนติชมได้ที่นี่ครับ! Guest Book

สนใจติดต่อโฆษณาได้ที่

eng_pub@hotmail.com

ค่าสปอนเซอร์เหล่านี้จะนำมาปรับปรุงเว็บ ให้บริการได้ดีกว่านี้ครับ ขอบคุณครับ

จากใจ ผศ.ดร.อภิชาติ

Asking for your helps, please.

เนื่องจากเว็บไซต์นี้เปิดบริการฟรี ให้กับพวกท่านมาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ถ้าหากท่านต้องการ จะสนับสนุนผม ให้สามารถทำงาน เพื่อสังคม มากกว่านี้ เช่น ช่วยเหลือให้สามารถจัดการสอนออนไลน์ ซื้อหนังสือ ตำราจากต่างประเทศให้ หรือหาผู้ช่วย ในการทำอีเลิร์นนิ่งให้ดีกว่านี้ เป็นต้น เพื่อเราจะร่วมกันทำเว็บนี้ ให้เป็นแหล่งความรู้ ที่ดีแห่งหนึ่ง ให้กับนักศึกษา พนักงาน ครูอาจารย์ และผู้สนใจต่อไปครับ

ขอบพระคุณที่ช่วยสนับสนุนครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

ขณะนี้ยังไม่ค่อยมีสปอนเซอร์มาติดต่อเลยนะครับ ขอความช่วยเหลือจากท่านบ้าง ผมต้องเข้ามาตอบตลอด มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนะครับ อย่างน้อยช่วยซื้อหนังสือบ้างก็ยังดีครับ

ขอบพระคุณในความเห็นใจของทุกท่านครับ

ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ

29-10-48

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอจัดให้ตามคำแนะนำของคุณบัณฑิต พงศาโรจนวิทย์ คลิ๊กที่นี่ครับ

-------------------------

Silk : Queen of Fibres - The Concise Story by Assist. Prof. Dr. Apichart Sonthisombat and Dr. Peter T. Speakman (PDF FILE)--> Click here!

---------------------

Technical Textile Useful Links --> Click here!

--------------------------

Nanotechnology Useful Links -->Click here!

--------------------------------------------------

คำนิยามเกี่ยวกับการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอ

คลิ๊กที่นี่ครับ

รายชื่อหนังสือใหม่ล่าสุด

- การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน เล่ม 2 ราคา 300 บาท (หนาประมาณ 300 กว่าหน้าครับ) **

- เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต เสร็จแล้วครับ ราคา 60 บาท (พิมพ์สี)**

สนใจติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ (**ค่าส่งลงทะเบียนอีกประมาณ 20 บาทต่อเล่มครับ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อยากให้เว็บนี้มีอะไรเพิ่มเติม...กรุณาส่งอีเมล์ หรือโทรมาบอกได้ครับ เราจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ให้ดีที่สุดครับ

WEBSTAT for ttcexpert.com

Last updated on 21-08-16

ติดต่อสอบถาม โทร. 0 2549 3666 หรือ โทรสาร 0 2549 3665 หรือที่... e-mail: eng_pub@hotmail.com, en@rmut.ac.th

Assistant Professor Dr. Apichart Sonthisombat

Department of Textile Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT),

Rungsit-Nakornnayok Road, Klong 6. Thanyaburi, Pathumthani, 12110 THAILAND

 

หมายเหตุ ความคิดเห็นที่ปรากฎในเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของผู้เขียนมิได้เป็นความเห็นชอบของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แต่อย่างใด